ส้มซ่าๆๆ

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล


สาระสำคัญ

ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น

นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน

ระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล

นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด

ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)

เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น

ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย

รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล

ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล

ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล

แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้

เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล

ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน

- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล

แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น

เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย - แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา

- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา

- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา

ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง

ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เราจะใช้หัวลูกศรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้

รูปที่ 1.1 คณะวิชา ß ----------à à นักศึกษา (คณะวิชามีความสัมพันธ์กับนักศึกษา)
ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จะกำหนดโดยใช้หัวลูกศร และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้นักศึกษาไปยังเอนทิตี้คณะวิชา อาจจะกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.2 คณะวิชา ----------------à นักศึกษา (นักศึกษาสังกัดอยู่คณะวิชา)
และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้คณะวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษา อาจกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.3 คณะวิชา --------------à à นักศึกษา (คณะวิชาประกอบด้วยนักศึกษา)
จากรูปที่ 1.2 จะเห็นได้ว่า นักศึกษา 1 คนจะสามารถสังกัดอยู่ได้เพียง 1 คณะวิชา แต่จากรูปที่ 1.3 จะเห็นได้ว่า 1 คณะวิชาสามารถประกอบด้วยนักศึกษาหลาย ๆ คน

ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง (1 : 1)

2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะ (1:m) ตัวอย่างเช่น

3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n) เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)จากคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจให้นิยามของฐานข้อมูลในอีกลักษณะได้ว่า “ฐานข้อมูล” อาจหมายถึง โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กัน

ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1.สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง
2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)
3.สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ จะทำได้โดยง่าย
4.สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลบางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น
5.สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ
6.สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม
7.เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง

รูปแบบของระบบฐานข้อมูล

รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

1.ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)

เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังตัวอย่าง
2.ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3.ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร

โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูลโปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่าโปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรม FoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วยโปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่ง SQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การสร้าง e-Book

การสร้าง e-Book



ความหมายของ e-Book
คงต้องเข้าใจความหมายกันก่อนว่า e-Book หมายถึงอะไร เรื่องนี้ผู้เรียบเรียงค้นหาจาก Internet พบเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ให้ความหมายของ e-Book ไว้ว่า "หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่อ่านสามารถ อ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ สำหรับหนังสือ หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมาย รวมถึงเนื้อหา ที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการ นำเสนอ สอดคล้อง และคล้ายคลึงกับ การอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมี ลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่าน สามารถอ่าน พร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป"
และผู้เรียบเรียงได้ทดลองค้นหาว่า มีใครบ้างที่จัดทำ e-Book ไว้บ้าง โดยเฉพาะ e-Book ที่สร้างมาจากโปรแกรม HTML Help Workshop ซึ่งในความเห็นของผู้เขียน คิดว่าเป็นโปรแกรมที่ใช้สร้าง e-Book ได้ง่ายและสะดวก พบที่ www.krumontree.com สร้าง e-Book โดยใช้โปรแกรม HTML Help Workshop จัดทำเผยแพร่โดย อาจารย์ภาณุพันธุ์ จันทรา เช่น
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
พจนานุกรมคอมพิวเตอร์
รู้ผู้อ่านค่า...สมุนไพรไทย
พระบรมจักรีวงศ์.. แห่งกรุงรัตนโกสินทร
การละเล่นของเด็กไทย
สัตว์ป่าสงวนของไทย
คำราชาศัพท์
17 จังหวัดภาคเหนือ
7 จังหวัดภาคตะวันออก
คู่มือการสมัครใช้อีเมล์ฟรีของ HOTMAIL
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคต้น
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน
การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯแห่งชาติฉบับที่ 1-8
โปรแกรม HTML Help Workshop เป็นโปรแกรมหนึ่งที่นำสร้าง e-Book ในยุคของ Internet ผู้อ่านสามารถ Download โปรแกรม HTML Help Workshop ได้ที่ เว็บไซต์ http://www.microsoft.com/

ขั้นตอนในการสร้าง e-Book โดยใช้โปรแกรม HTML Help Workshop
มีขั้นตอนดังนี้คือ
1. สร้างเอกสารที่อยู่ในรูปของไฟล์ Hypertext Markup Language (HTML)
2. สร้าง Help Project
3. สร้าง Table of Contents (TOC) หรือสารบัญ
4. สร้าง Help Index (ดัชนี)
สร้างเอกสารที่อยู่ในรูปของ ไฟล์ Hypertext Markup Language(HTML)
เนื้อหาของ e-Book ที่เราจะทำการสร้างขึ้นมาจะประกอบไปด้วย ไฟล์ .HTM หรือ .HTML เป็นหลัก ผู้อ่านสามารถที่จะ สร้างเอกสารเหล่านี้ได้โดยใช้โปรแกรม Microsoft FontPage หรือโปรแกรม Notepad หรือโปรแกรมที่ใช้สร้างเอกสาร HTML อื่น ๆ ก็ได้
วิธีการสร้างเอกสารเพื่อใช้เป็นเนื้อหานั้นให้ผู้อ่านสร้างเป็นไฟล์ย่อยๆตามหัวข้อของ Table of Contents (สารบัญ) เช่น ถ้าผู้อ่านมีสารบัญทั้งหมดอยู่ 10 หัวข้อ ก็ให้ผู้อ่านทำการสร้างเป็นไฟล์ HTML ตามจำนวนหัวข้อของสารบัญ เป็นต้น หรืออาจจะ สร้างไว้มาก หรือน้อยกว่าก็ได้ (ในที่นี้จะขอไม่อธิบายวิธีการสร้างไฟล์ HTML) เมื่อทำการสร้าง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำขั้นตอนต่อไป คือการสร้าง Help Project
ขั้นตอนการสร้าง Help Project
Help Project จะเป็นตัวที่ใช้จัดการในเรื่องของการสร้าง e-Book ซึ่งก็จะคล้ายกับ Project ในโปรแกรม Visual Basic ให้ผู้อ่าน ทำการสร้างโปรเจ็กขึ้นมาดังนี้
1. เรียกโปรแกรม HTML Help Workshop ขึ้นมาแล้วคลิกที่เมนู File จากนั้นคลิกที่รายการ New
2. ที่ New dialog box เลือก Project แล้วคลิกปุ่ม OK
3. จากนั้นเราจะเข้าสู่ New Project Wizard ซึ่งเป็นเครื่องมื่อที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างโปรเจ็ก
4. ที่ dialog box ของ New Project ให้ผู้อ่านคลิกปุ่ม Next
5. ที่ dialog box ของ New Project – Destination ให้ผู้อ่านตั้งชื่อของโปรเจ็กที่ผู้อ่านจะสร้างขึ้นมา ให้ผู้อ่านกำหนดชื่อเป็น MYHELP แล้ว คลิกที่ปุ่ม Next
6. ที่ dialog box ของ New Project – Existing Files จะเป็นส่วนที่ใช้ในการกำหนดไฟล์ต่างๆที่มีอยู่แล้วนำมาใส่ไว้ในโปรเจ็ก
HTML Help table of contents (.hhc) กำหนดให้นำไฟล์ TOC ที่มีอยู่แล้วนำมารวมไว้ในโปรเจ็ก
HTML Help Index (.hhk) กำหนดให้นำไฟล์ ดัชนี ที่มีอยู่แล้วนำมารวมไว้ในโปรเจ็ก
HTML File (.htm) กำหนดให้นำไฟล์ HTML ที่มีอยู่แล้วนำมามารวมไว้ในโปรเจ็ก

แต่ในหน้านี้ให้ผู้อ่านคลิกปุ่ม Next ไปก่อน โดยไม่ต้องทำการคลิกที่รายการใด ๆ
7. ที่ dialog box ของ New Project – Finish ให้คลิกปุ่ม Finish หลังจากนั้นเราก็จะได้ โปรเจ็ก MYHELP ดังภาพ
8. ผู้อ่านสามารถที่จะนำไฟล์ HTML ที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้มารวมในโปรเจ็ก ได้โดยการคลิกที่ปุ่ม (Add/Remove topic Files)
จากนั้นก็จะขึ้น dialog box ของ Topic Files ให้ผู้อ่านทำการคลิกที่ปุ่ม Add เพื่อนำไฟล์ HTML มารวมไว้ในโปรเจ็ก ดังภาพ แล้วคลิกปุ่ม OK

ขั้นตอนการสร้าง Table of Contents (TOC) หรือสารบัญ
Table of Contents เป็นหัวข้อที่ใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาของ e-Book ซึ่งก็เหมือนกับสารบัญของหนังสือ มีขั้นตอน ในการสร้างดังนี้
1. ทำการคลิกที่แท๊ป Contents จากนั้นให้ทำการเลือกรายการ Create a new contents File แล้วคลิกปุ่ม OK
2. ให้ทำการป้อนชื่อไฟล์ contents ที่สร้างขึ้นใหม่ว่า MYTOC แล้วคลิกปุ่ม OK จากนั้นเราก็จะเข้าสู่ส่วนของการสร้าง Table of Contents
3. ทำการกำหนด Heading โดยคลิกที่ปุ่ม (Insert a heading)จากนั้นเราจะเข้าสู่ในส่วนของ Table of Contents Entry ที่แท๊ป General ในช่อง Entry title: เป็นส่วนที่ให้กำหนดข้อความที่จะแสดงในส่วนของสารบัญ ให้ทำการป้อน “สารสนเทศสาธารณสุข (Public Health Information)” (ไม่ต้องพิมพ์เครื่องหมาย “) จากนั้นให้คล๊กที่ปุ่ม OK
4. ต่อมาก็ทำการกำหนดรายการของสารบัญโดยทำการคลิกที่ปุ่ม (Insert a page) โปรแกรมก็จะถามว่า

ให้คลิกที่ปุ่ม No เพื่อเพิ่มรายการต่อจาก Heading ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้
5. ที่แท๊ป General ในช่อง Entry title: ให้ป้อน “สารสนเทศสาธารณสุข(Public Health Information)” จากนั้นให้ คลิกปุ่ม Add...
6. ในส่วนของ Path or URL ที่ช่อง File or URL: ให้กำหนดชื่อไฟล์ HTML ที่เราต้องการ เช่น h_information.HTM แล้วคลิกที่ปุ่ม OK สองครั้งจากนั้นจะได้ TOC ดังภาพ

ในกรณีที่มีรายการอื่นๆอีกให้ย้อนกลับไปทำตามในข้อ 3-6 แล้วแต่กรณี
7. การกำหนดรูป Icon ให้กับรายการใน TOC ให้เข้าไปทำการแก้ไขรายการที่ต้องการ ให้เลื่อนแถบแสงไปที่รายการ “สารสนเทศสาธารณสุข (Public Health Information)” แล้วคลิกที่ปุ่ม (Edit Selection)
8. คลิกที่แท๊ป Advance ในช่อง Image Index กำหนดค่า เป็น 5 (Icon รูป folder) จากนั้นคลิกปุ่ม OK
9. ต่อมาให้ผู้อ่านกำหนด Icon ให้กับรายการ “” โดยกำหนดค่าให้กับ Image Index เป็น 1 (Icon รูป หนังสือ)
10. ผู้อ่านสามารถที่จะลบรายการใน TOC ได้โดยการคลิกที่ปุ่ม (Delete Selection)

ขั้นตอนการสร้าง Help Index (ดัชนี)
Index (ดัชนี) เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเนื้อหาของ e-Book ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้อ่านกำลังใช้งาน e-Book อยู่ผู้อ่านสามารถที่จะป้อนคำที่ต้องการค้นหาในส่วนของแท๊ป Index เมื่อพบคำที่ตรงกับที่ป้อน โปรแกรม e-Book ก็จะแสดงรายการที่มีคำที่เราได้กำหนดไว้ตอนสร้าง Help Index ออกมา ซึ่งเราสามารถที่จะ คลิกเข้าไปดูในรายการนั้นๆได้ มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. ทำการคลิกที่แท๊ป Index จากนั้นให้ทำการเลือกรายการ Create a new Index File แล้วคลิกปุ่ม OK
2. ให้ทำการป้อนชื่อไฟล์ Index ที่สร้างขึ้นใหม่ว่า MYINDEX แล้วคลิกปุ่ม OK จากนั้นเราก็จะเข้าสู่ส่วนของการสร้าง Index ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการสร้าง Contents
3. ให้คลิกที่ปุ่ม (Insert a keyword) จากนั้นเราจะเข้าสู่ในส่วนของ Index Entry ที่แท๊ป General ในช่อง Keyword: เป็นส่วนที่ให้กำหนดข้อความ(keyword) ที่จะแสดงในส่วนของดัชนี ให้ทำการป้อน “สารสนเทศสาธารณสุข” (ไม่ต้องพิมพ์เครื่องหมาย “) จากนั้นให้คล๊กที่ปุ่ม Add...
4. ในส่วนของ Path or URL ที่ช่อง File or URL: ให้กำหนดชื่อไฟล์ HTML ที่เราต้องการ เช่น h_information.HTM แล้วคลิกที่ปุ่ม OK ถ้าในกรณีที่ keyword ที่เรากำหนดไว้มีการอ้างถึงในไฟล์ HTML มากกว่าหนึ่งไฟล์ ก็ให้คลิกปุ่ม Add... เพื่อทำการเพิ่มไฟล์ HTML เข้าใน Keyword ได้อีก

กำหนดข้อความไตเติ้ลให้กับ e-Book
ผู้อ่านสามารถที่จะทำการกำหนดข้อความให้แสดงบนแถบป้ายหน้าต่าง(Title bar) ให้กับโปรแกรม e-Book ของผู้อ่านได้ โดยการคลิกที่แท๊ป Project แล้วคลิกที่ปุ่ม (Change Properties Options)
ทำการป้อนข้อความที่ช่อง Title: ในส่วนของ แท๊ป General จากตัวอย่างให้ผู้อ่านป้อนคำว่า “เอกสารการสอนวิชา สารสนเทศสาธารณสุข (Public Health Information)”

กำหนดไฟล์เพื่อแสดงตอนเริ่มเรียก e-Book
เมื่อทำการเรียกโปรแกรม e-Book ขึ้นมาแล้วเราสามารถที่จะกำหนดให้แสดงไฟล์ HTML ตอนเริ่มต้นแสดง e-Book ได้โดยเข้าไปกำหนดในส่วนของ Project แล้วทำการ Change Properties Option เลือกแท๊ป General ในช่อง Default File: ให้กำหนดไฟล์ที่ต้องการแสดงตอนเริ่มเรียก e-Book

กำหนดให้มีแท๊ป Search ใน e-Book
ในการสร้าง e-Book นั้นเราสามารถที่จะกำหนดให้ e-Book ของเราสามารถที่จะค้นหา (Search) คำหรือข้อความใดๆก็ได้ โดยการเพิ่มแท๊ป Search ไว้ในโปรแกรม e-Book จากเดิมที่จะมีเฉพาะแท๊ป Contents และ แท๊ป Index ได้โดยการเข้าไปกำหนดในส่วนของ Project แล้วทำการ Change Properties Option คลิกที่แท๊ป Compiler แล้วคลิกที่ช่อง Compile full-text search information

เสร็จงาน : Compile HTML e-Book File
ก่อนที่ผู้อ่านจะนำโปรเจ็กที่ได้สร้างไว้ไปใช้งานได้ ผู้อ่านต้องทำการ Compile โปรเจ็กนั้นก่อนโดยการคลิกที่ปุ่ม (Compile HTML file) จากนั้นทำการกำหนดไฟล์โปรเจ็กที่ต้องการจะ Compile โดยกำหนดในช่อง Project file: และถ้าต้องการที่จะแสดง e-Book หลังจากที่ทำการ compile แล้วก็ให้คลิกที่ช่อง Automatically display compiled help file when don ดังภาพ
เมื่อ Compile เสร็จแล้วก็จะได้ e-Book ตามความประสงค์ ....

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

แปลภาษา

   The  trouble with the  information acquisition view is that  it conflicts with much of the research evidence concerning how people  learn. This book is based on the idea that the instructional professional's job is not only to present  information, but also to present it in a way that is consistent with how people learn. Thus,we adopt the cognitive theory of multimedia learning, in which learning depends both on the information that is presented and on the cognitive processes used by the learner during learning.
      Multimedia  lessons that present words as on-screen text can conflict with the way human mind works. According to the cognitive of learning-which we use the basis for our recommendations-people have separate information processing channels for visual/pictorial processing and for auditory/verbal processing. When learners are given concurrent graphics and on-screen text, both must be initially processed in the visual/pictorial channel. The capacity of each channel is limited, so the graphics and

ปัญหาเกี่ยวกับมุมมองการซื้อข้อมูลที่ขัดแย้งกับหลักฐานมากของการวิจัยเกี่ยวกับวิธีการที่บุคคลเรียนรู้ หนังสือเล่มนี้จะขึ้นอยู่กับความคิดที่ว่างานระดับมืออาชีพการเรียนการสอนคือไม่เพียง แต่จะนำเสนอข้อมูล แต่ยังจะนำเสนอในทางที่สอดคล้องกับวิธีการที่บุคคลเรียนรู้ ดังนั้นเราจึงนำทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาของมัลติมีเดียซึ่งขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ทั้งในข้อมูลที่นำเสนอและความรู้ความเข้าใจในกระบวนการที่ใช้โดยผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้
       บทเรียนมัลติมีเดียที่นำเสนอคำเป็นข้อความบนหน้าจอความขัดแย้งได้ด้วยวิธีการทำงานของจิตใจมนุษย์ ตามความคิดของการเรียนรู้ซึ่งเราจะใช้เกณฑ์ในการแนะนำคนของเรามีช่องทางที่แยกต่างหากสำหรับการประมวลผลข้อมูลการประมวลผลภาพภาพ / และสำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการฟัง / การพูด เมื่อผู้เรียนจะได้รับพร้อมกันกราฟิกและข้อความบนหน้าจอทั้งสองจะต้องถูกดำเนินการครั้งแรกในภาพช่องสัญญาณภาพ / กำลังการผลิตของแต่ละช่องมี จำกัด ดังนั้นกราฟิกและ

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

บัญชีรายรับ-รายจ่าย

                    บัณชีรายรับ-รายจ่าย
ว/ด/ป                  รายการรายรับรายจ่ายคงเหลือ
1/11/2553ได้รับเงินจากผู้ปกครอง3500
   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
3420
2/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
   ไปตลาด150
3190
3/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม30
3100
4/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม30
3010
5/11/1953   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
   ไปตลาดนัด100
2830
6/11/2553   กินขนม50
   ไปตลาดนัด100
2680
7/11/1953   กินขนม40
   ไปตลาดนัด150
2490
8/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม30
2400
9/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
2320
10/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
2240
11/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
2160
12/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม40
2060
13/11/2553   กินขนม40
2020
14/11/2553   กินขนม50
   ไปตลาดนัด200
1890
15/111/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
1790
16/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
1710
17/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
   ไปตลาด60
1570
18/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
1490
19/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
   ไปตลาด200
1210
20/11/2553   กินขนม50
1160
21/11/2553   ไปตลาด200
960
22/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
880
23/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
800
24/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม30
710
25/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
630
26/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
   กินขนม20
550
27/11/2553   กินขนม40
510
28/11/2553   กินขนม40
   ไปตลาด150
320
29/11/2553   กินข้าว40
   กินน้ำ20
260
30/11/2553   กินข้าว40
   กินขนม40
180